วันอังคารที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2555

จ้างงานนิสิตต้นเดือนพย.เปิดเทอมแล้ว

ต้องการจ้างนิสิตสาขาเศรษฐศาสตร์เพื่อร่วมทำงานกับคณะวิจัยของเศรษฐศาสตร์มช.เรื่องเพิ่มศักยภาพOTOPในพะเยาหน้าที่ลงเก็บข้อมูลในพื้นที่ ใครสนใจให้เขียนชื่อสมัครได้พร้อมเบอร์โทรติตต่อกลับ หน้าแสดงความคิดเห็นจำนวน10คน ชั้นปีไหนก็ได้

วันจันทร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ชีวิตเหมือนขี่จักรยาน

Cycling & fun (3)

“Life is like riding a bicycle. To keep your balance you must keep moving” by Albert Einstein.


“ชีวิตเหมือนถีบจักรยาน ต้องถูกถีบไปเรื่อยๆเดี๋ยวจะล้ม” ถอดความแบบจี้กลางใจเลยครับ เป็นคนถีบจักรยานดีกว่า สำหรับอันตรายที่จะเกิดจากจักรยานเทียบกับจักรยานยนต์ รถยนต์มีน้อยกว่ากันเยอะ จักรยานไม่ไปชนใคร บาดเจ็บล้มตายแน่ มีแต่ถูกกระทำฝ่ายเดียวครับ โดนรถยนต์ มอเตอร์ไซค์ ปาดหน้า ถูกกล่าวหาว่ากีดขวางทางจราจร ปั่นช้า อะไรๆก็ถูกต้องเป็นเหตุเป็นผลครับ แต่อย่างหนึ่งที่ต้องแจ้งให้พาหนะอื่นๆทราบไว้ คือระบบเบรคของจักรยาน ไม่มีประสิทธิภาพเทียบเท่ารถยนต์หรือจักรยานยนต์ ถ้าถูกปาดหน้า จักรยานมีโอกาสพุ่งชนสูงครับ จะเสียเวลา เสียทรัพย์ทั้งสองฝ่าย แต่ถ้าท่านสละเวลา ไม่เกิน 3-5 วินาทีให้จักรยานผ่านไป เดี๋ยวท่านก็แซงจักรยานและทำเวลาได้กลับคืนเหมือนเดิม หรืออย่าพยายามเร่งเครื่องยนต์เวลาจักรยานจะแซงรถของท่านครับ จักรยานขี่เป็นกลุ่มไม่สามารถจะเบรคกระทันหันได้ นักปั่นจะพยายามหลบหลีกอย่างเดียว ถ้าเป็นกลุ่มใหญ่ๆมีโอกาสมากที่จักรยานคันท้ายจะชนรถของท่านครับ

ที่เมืองพะเยาช่วงเย็นๆจะมีกลุ่มปั่นๆจักรยานกลุ่มใหญ่ๆ 2 กลุ่มคือกลุ่มของเสือภูเขาจะรวมกลุ่มเริ่มปั่นที่หน้าโรงพยาบาลพะเยา วิทยาลัยพยาบาล ปั่นไปไหนแล้วแต่จะตกลงกัน แต่ไปสิ้นสุดที่ริมกว๊านหัวโค้งเยื้องๆกับสวนสาธารณะข้างเทศบาลเมือง นับว่าเป็นกลุ่มหนุ่มใหญ่วัย กระเต็น ปาดเปรียว เป็นไอ้แมวหนุ่ม รอบต่ำแต่อึด ทน เหนียว ข้ามภูเขาวันละหลายสิบลูก  อีกกลุ่มหนึ่งเป็นกลุ่มเสือหมอบจะรวมกลุ่มที่สี่แยกป่าแดง เยื้องโรงพยาบาลราม เริ่ม 5 โมงเย็น เส้นทาง 3 เส้นทางประจำ 1.รอบกว๊าน 2.ขึ้นเขาทางศูนย์ขยายพันธ์พืชไปห้วยบง 3.ไป ม.พะเยา รวมระยะทางเฉลี่ยไม่ต่ำว่า 30-35 กิโลเมตรต่อวัน เวลา ไม่เกินชั่วโมงสิบห้านาที ถ้าอยู่ช่วงหยุดเทอมจะมีน้องๆนักเรียนร่วมเยอะ
การปั่นกลุ่มเสือหมอบ กลุ่มแรกเป็น ชุดหัวลากจะเป็นระดับนักกีฬา เขต เยาวชน บางครั้งมีทีมชาติมาปั่นร่วมด้วย กลุ่มนี้ผมเรียกว่า “กลุ่มมุ่งสู่ทีมชาติ” ไหวพริบ ปฏิภาณ คล่องตัวระดับนักแข่งอาชีพ กลุ่มตรงกลาง เป็นชุดลูกหลานๆ มัธยมที่พยายาม “ตามกลุ่มมุ่งสู่ทีมชาติ” อย่างติดๆ กลุ่มสุดท้าย คนผ่านชีวิตมาเยอะ ไปอีกได้ไม่ไกล หู ตา เริ่มฝ้า ฟาง ขอหลบลมอยู่ด้านหลัง เกาะเกี่ยว ห้อยไปให้ถึงฝั่งแต่ละวัน พร้อมด้วยกลุ่มเด็กน้อยเสือภูเขา ที่เท้าเหยียดไม่ถึงพื้น นี่แหละตอปิโดบกดีๆนี่เอง ใครปาดหน้าชนอย่างเดียวเอาไม่อยู่หรอก

ในกลุ่มทุกคนมีเป้าหมายภาระกิจแตกต่างกันครับ แต่เรามาทำกิจกรรมร่วมกันสม่ำเสมอแทบทุกวัน กลุ่มนักกีฬามีหน้าที่ซ้อม เก็บสถิติ กลุ่มเยาวชนมีฝันที่ต้องสร้างและไปให้ถึง และกลุ่มท้ายเพื่อการออกกำลัง คน 3 วัยมาทำกิจกรรมร่วมกัน นี่ไงครับ “ชีวิตเป็นเหมือนรถถีบ ต้องถีบกันไปเรื่อยๆ บนเส้นทางเส้นเดียวกัน ใครจะเลี้ยวไปทางไหนก็ตามแฮนด์”

การออมเป็นกุญแจของมั่งคั่ง

“Wealthy & Healthy” (4)
“เงินหายากลำบากแสนเข็ญ กว่าจะเป็นของเราก็เหนื่อยหลาย”

“มั่นสะสมเงินไว้แม้เหนื่อยกาย ไม่มลายสิ้นเพราะใจเรา”

เป็นความโชคดีของมนุษย์ ที่แตกต่างจากสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่สามารถพัฒนาขีดความสามารถ ด้วยสติปัญญาของตนเอง สติปัญญานี่แหละ.... ทำให้เรายังคงอยู่ได้สุขสบายทุกวันนี้ ดังคำโบราณไทยๆว่าไว้ “มีปัญญาเหมือนมีทรัพย์อยู่นับแสน” แปลเข้าใจง่ายๆว่า “เคาะกระโหลกแล้วได้เงินไหลออกมา” สำหรับชาติตะวันตก คงไม่ปฏิเสธแนวคิดของ อดัมสมิธ ที่เป็นต้นตำหรับแนวคิดเศรษฐกิจแบบ“ทุนนิยม” บนรากฐานของ สิทธิเสรีภาพภาดรภาพในแต่ละบุคคล และการยอมรับในกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน นี่แหละเป็นจุดเริ่มต้นของหนังสือ “The enquiry of causes of the wealth of nation” เป็นตำราเศรษฐศาสตร์เล่มแรกๆก็ว่าได้ ประเทศชาติจะมั่งคั่งร่ำรวยได้อย่างไร? “ต้องให้อิสระกับแต่ละบุคคลในการคิด การประกอบกิจการ ซิ” มีอะไรอีกไหม? “ต้องให้สิทธิ์ในทรัพย์สินและผลประโยชน์ในทรัพย์สินแต่ละบุคคลซิ” เท่านี้แหละทุนนิยมจึงเติบโต เติบโตเพราะเปิดโอกาสให้คนสะสมทุนทุกรูปแบบ พวกเราลองย้อนนึกถึงคนถ้ำ เข้าป่าล่าสัตว์ เดินป่าทั้งวันในทุ่งกว้าง นานๆจะมีกวางตาบอดวิ่งผ่านหน้ามาสักตัว คนถ้ำวิ่งไล่จับ ยังไม่แน่เลยว่าจะจับได้ แต่ถ้าจับได้ก็กินหมด ยังไม่รู้เลยว่าอีกกี่วันจะมีกวางตาบอดวิ่งผ่านมาอีก หรืออีกตัวอย่างหนึ่งในช่วงแรกๆการพัฒนาสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน จะใช้สินค้าแลกเปลี่ยนกับสินค้า เช่นข้าวโพดแลก ไก่ , ไข่แลกเกลือ บ้านไหนมีผลผลิตมากๆก็จะนำมาแลกกับสิ่งที่ตนเองไม่มี สมมุติว่าบ้าน นายไข่ เพาะปลูกข้าวปีนี้ได้เยอะ เก็บเต็มยุ้งข้าวใกล้แม่น้ำ อยู่มาวันหนึ่ง (วัน...วย) ปลวกกัดกินเสายุ้งข้าวหัก และฝนตกหนักน้ำไหลบ่าเชี่ยวกราดพัดยุ้งข้าวจมหายไปกับสายน้ำ นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า “ใครมีทรัพย์เป็นโชคที่ดี แต่การรักษาให้ทรัพย์มันอยู่กับเรานานๆเป็นโชคของโชคดีเสียอีกครับ”

Econ idea


ในชั้นเรียนวิชาเศรษฐศาสตร์ มีการตั้งคำถามว่า คนเราแต่ละคนมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง? เด็กชายเคนส์ตอบด้วยเสียงอันดังว่า “คนเราควรจะแบ่งรายได้ออกเป็น 3 ส่วน เพื่อใช้จ่าย ส่วนที่หนึ่งจ่ายในชีวิตประจำวัน , ส่วนที่สองเพื่อจ่ายในยามฉุกเฉิน เช่นเจ็บไข้ได้ป่วย อุบัติเหตุ และแต่งงานครับ (... เธอแน่ใจหรือ) และส่วนที่สามเก็บออมเพื่อการลงทุนและเก็งกำไรครับ ...สิ้นสุดเสียงเคนส์ ก็มีเสียงเล็กแหลมของ เด็กหญิง ปอย ตอบสวนทันควัน ว่า “ในสมัยพระพุทธกาลมีเรื่องเล่าไว้ว่า มีพระราชาองค์หนึ่งไต่ถามสาระทุกข์คนตัดฟืนว่า มีความเป็นอยู่เช่นไร?” “ข้าพเจ้ามีความเป็นอยู่ตามอัตภาพ” “แล้วเป็นอย่างไรล๊ะ” “ เงินทองที่หามาได้แบ่งออกเป็น 5 ส่วน 1.นำไปฝังดิน 2.นำไปใช้หนี้ 3.นำไปให้ยืม 4.นำทิ้งน้ำ 5.นำไปมอบให้ศัตรู” ชายตัดฟืนตอบ “ที่เจ้าว่ามานั้นเป็นเช่นไร” พระราชาทรงถาม “ ข้อ1 นำไปฝังดินคือการทำบุญทำทานเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น บุญจะได้งอกเงยนำสู่โลกเบื้องหน้า ข้อ 2 นำไปใช้หนี้หมายถึง การนำไปบำรุงบิดา มารดา เป็นการตอบแทนบุญคุณ ข้อ 3 นำไปให้ยืม หมายถึงการนำทรัพย์ไปเลี้ยงดูบุตร เพื่อวันข้างหน้าหมายให้ลูกหลานกตัญญูรู้คุณเรา ข้อ 4 นำทิ้งน้ำ หมายถึงทรัพย์ใช้ไปไม่ก่อประโยชน์อันใดไม่ เพื่อความสนุกสนาน รื่นเริ่ง และประการสุดท้าย การมอบให้ศัตรู หมายถึงการมอบให้ ภรรยา (สามี)….” พระพุทธเจ้าข้า.... เด็กหญิงปอยเปล่งเสียงฉะฉานอย่างตั้งใจ “แล้วข้อสุดท้ายล๊ะหนูหมายความว่าอย่างไรล๊ะ” คุณครูถามด้วยความสงสัย “หนูก็ไม่เข้าใจเหมือนกับค๊ะ เพราะ ......” ในเนื้อหาวิชาเศรษฐศาสตร์กล่าวถึงเรื่อง วงจรการบริโภคสินค้า การออม และการสะสมความมั่งคั่ง ตลอดช่วงชีวิตของบุคคล (Consumption , Saving, and Wealth over the life cycle) ว่าคนเราตั้งแต่แรกเกิดจนกระทั้งตายจะมีกระแสรายได้และรายจ่าย โดยกระแสรายได้ช่วง เกิดถึงวัยรุ่นจะต่ำมาก เพราะไม่มีรายได้อยู่ในช่วงวัยเรียน ช่วงที่ 2 รายได้จะเพิ่มขึ้นเพราะอยู่ในช่วงวัยทำงาน แต่จะแตกต่างกันไปแต่ละประเภทของงาน และช่วงที่ 3 ช่วงเกษียญอายุมีรายได้ลด และรายจ่ายก็จะมีลักษณะเช่นเดียวกัน นักเศรษฐศาสตร์พยายามจะจัดดุลยภาพของทั้งสองกระแส ว่าควรจะเป็นอย่างไรจึงจะเหมาะสมครับ ...