วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2555

คอลัมน์ใหม่ “Wealthy @ Healthy”

ผมหยิบเรื่องนี้เป็นคอลัมน์เด่นเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้อ่าน ถ้าใครมีประสบการณ์เด็ดๆเกี่ยวกับการจัดการความมั่งคั่งของตัวเองสามารถเขียนมาร่วมพูดคุยกับผมได้ครับ ยินดีที่จะนำบอกเล่าต่อเพื่อเป็นวิทยาทาน ช่องแสดงความคิดเห็นด้านล่าง ทำไมผมเลือกที่จะพูดถึงเรื่องความมั่งคั่ง และสุขภาพ? เพราะผมเชื่อว่าคนส่วนใหญ่ตกอยู่ในภาวะชักหน้าไม่ถึงหลังทุกๆเดือน เป็นหนี้บัตรเครดิทหลายๆใบ เป็นหนี้ผ่อนบ้าน ผ่อนรถยนต์กัน เหล่านี้แหละครับทำเราเครียด ดังนั้นการจัดการกับความมั่งคั่ง เพื่อให้เรามีสุขภาพที่แข็งแรง คำว่า “ความมั่งคั่ง” ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า “Wealth” แปลว่าเป็นเรื่องของ เงินทอง ทรัพย์สิน ถ้าเติม y ตามไปก็จะเป็นกริยาไป มีเงิน มีทอง มีความร่ำรวย “Wealthy” ครับ คำนี้แหละมันมีเสน่ห์ ตรงที่ถ้าเราตัด W ออกแล้วเติม H เข้าไปจะได้คำใหม่ ว่า “Health” เป็นเรื่องของสุขภาพ อนามัย ถ้าใช้คำว่า “Healthy guy” แปลว่า พ่อหนุ่มคนนี้แข็งแรง สุขภาพดี ถ้าคนเราได้พรชนิดที่ว่า “Wealthy and Healthy” แปลว่า “รวยทรัพย์ และสุขภาพดี” วิเศษจริงๆครับ แต่หลายคนแก้เกลี้ยว “ความไม่มีโรคเป็นลาถอันประเสริฐ” “Healthy is wealth” คอลัมน์นี้จะมุ่งไปที่จัดการกับความมั่งคั่งก่อน ครับ .... โปรดติดตาม


เกล็ดความรู้เรื่องเศรษฐศาสตร์

ปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกรบ้านเราคงไม่หนีคำว่า “ผลผลิตทางการเกษตรราคาตกต่ำ” และสูตรสำเร็จในช่วงประชาธิปไตยเบ่งบาน คือการปิดถนนประท้วง สร้างการต่อรองกับรัฐบาล สำหรับสูตรสำเร็จของการแก้ปัญหาของรัฐบาล คือการให้มีการจำนำผลผลิตทางการเกษตร อาทิเช่น ข้าว ข้าวโพด มันสัมประหลัง เพื่อชะลอการไหลบ่าของผลผลิตออกสู่ตลาด (อุปทาน) กรณีที่รัฐจะไปเปิดบู๊ตรับจำนำเองก็เกินกำลัง รัฐจึงร่วมมือกับเอกชนโดยกำหนดจำนวนโคต้าให้เอกชนเพื่อรับจำนำผลผลิตจากเกษตรกร โดยใช้โรงสี โกดัง ไซโล ของเอกชนนั่นเอง ประหนึ่งว่ารัฐกำลังจะรับซื้ออุปทานส่วนเกินเอง แต่จ่ายมัดจำเพียงบางส่วน เมื่อเกษตรกรชะลอการขาย โดยเปลี่ยนเป็นการจำนำไว้ ก็เท่ากับเป็นการยืดระยะเวลาผลผลิตของเกษตรกรแต่ละคนออกไป เป็นการลดอุปทานตลาด ซึ่งจะมีผลต่อราคาที่สามารถขยับขึ้นได้ เมื่อราคาขยับสูงขึ้น เกษตรกรแต่ละรายจะมีความจำเป็นแตกต่างกัน บางรายร้อนเงินก็ขายออกไปก่อน สำหรับรายไม่ร้อนเงินก็รอให้ราคาสูงขึ้นค่อยขาย แต่เจ้ากรรมของการจำนำคือ การกำหนดโคต้า กำหนดจำนวนน้อยก็ไม่มีผลต่อกลไกการจำนำ กำหนดมากส่วนที่เกินไปประโยชน์จะตกเป็นของใคร เกิดการไหลของผลผลิต ลำพังพึ่งให้เกษตรกรไปขึ้นทะเบียนการเพาะปลูกกับเกษตรตำบล ก็ไม่ใช่วิสัยของเกษตรกรที่ทำตามมีตามเกิด ตามๆกันมา อีกแนวคิดหนึ่ง จึงมีดำริให้มีการประกันราคาพืชผลทางการเกษตรแทนที่การรับจำนำ ซึ่งผมจะเล่าต่อไป



ไม่มีความคิดเห็น: